MENU
Title

ประเทศญี่ปุ่นกำลังจะมีโครงการต้นแบบ ‘เมืองแห่งอนาคต’ ที่จะรองรับผู้อยู่อาศัยราว ๆ 2,000 คน เพื่อร่วมทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับเมืองอัจฉริยะ โดยแบ่งเป็นที่พักอาศัยราว 360 ครัวเรือน ส่วนใหญ่เป็นประชากรสูงอายุ ครอบครัวที่มีเด็ก รวมถึงทีมงานวิจัย และพนักงานของโตโยต้า อาจเรียกได้ว่านี่เป็น ‘ห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต’ ซึ่งเปิดให้คนได้อยู่อาศัยจริง และทดลองใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ภายใต้สิ่งแวดล้อมของสมาร์ตซิตี้เต็มรูปแบบ เมืองแห่งนี้มีชื่อว่า Woven City เมืองแห่งอนาคต ริเริ่มโดย ‘โตโยต้า’ บริษัทรถยนต์ของญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างบนพื้นที่ 442 ไร่ บนที่ตั้งโรงงานเดิมของโตโยต้าบริเวณเชิงภูเขาไฟฟูจิ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 ที่ผ่านมา 

Akio Toyoda ซีอีโอของโตโยต้า อธิบายถึงโครงการนี้ว่าเปรียบเหมือน “ห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต” โดยจะอนุญาตให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรได้ทดสอบเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ในสภาพแวดล้อมในชีวิตจริงนั่นเอง “ผู้คนในอาคารบ้านเรือนและยานพาหนะทั้งหมด จะสามารถเชื่อมต่อและสื่อสารกันผ่านดาต้าเเละระบบเซ็นเซอร์ โดยจะสามารถทดสอบเทคโนโลยี AI ได้ทั้งในโลกเสมือนและโลกจริง เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ได้สูงสุด เราต้องการจะเปลี่ยนปัญญาประดิษฐ์ให้กลายเป็นระบบสารสนเทศอัจฉริยะ”

สำหรับโครงการ “Woven City” มีแผนพัฒนาพื้นที่แห่งนี้ให้เป็นเมืองที่มีความยั่งยืนทางสิ่งเเวดล้อมด้วย โดยจะเป็นเมืองที่ใช้พลังงานจากเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน และพลังงานแสงแดดจากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ไว้ที่หลังคาของอาคารบ้านเรือน ส่วนการสัญจรภายในโครงการจะนำ Toyota e-Palettes ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ขับเคลื่อนอัตโนมัติไร้คนขับ มาให้บริการสำหรับการเดินทาง การขนส่งและร้านค้าปลีกเคลื่อนที่ บนถนนก็จะมีเเต่รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็มรูปแบบและรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์เท่านั้น


            “Woven City” เป็นการร่วมมือกันระหว่างโตโยต้ากับ Bjarke Ingels Group (BIG) บริษัทด้านสถาปัตยกรรมจากประเทศเดนมาร์ก ซึ่งรับหน้าที่ในการออกแบบผังเมือง โดยอาคารส่วนใหญ่ทำขึ้นจากไม้ และบางส่วนจะใช้หุ่นยนต์ในการก่อสร้าง เเรงบันดาลใจในการดีไซน์มาจากบ้านเรือนของญี่ปุ่นในอดีต ผสมผสานเทคนิคดั้งเดิมเข้ากับลักษณะสถาปัตยกรรมของประเทศ Bjarke Ingels เคยเป็นผู้ออกเเบบตึก World Trade Center ทั้ง 2 ตึกในมหานครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เเละยังออกแบบสำนักงานใหญ่ของกูเกิล ในกรุงลอนดอนเเละในซิลิคอน วัลเลย์ด้วย คาดว่าเมืองอัจฉริยะนี้จะสามารถรองรับการอยู่อาศัยได้ราว 2,000 คน ซึ่งกลุ่มเเรกจะเป็นพนักงานของบริษัทพร้อมครอบครัว รวมถึงผู้สูงอายุวัยเกษียณ ผู้ค้าปลีก นักวิจัยและพาร์ตเนอร์ที่ร่วมทำโปรเจกต์ต่างๆ

 

สถาปนิก Bjarke Ingels กล่าวว่า “บ้านเรือนใน Woven City จะเป็นสถานที่สำหรับทดสอบเทคโนโลยีใหม่ อย่างหุ่นยนต์ในบ้านที่เป็นผู้ช่วยในชีวิตประจำวัน บ้านอัจฉริยะเหล่านี้จะเชื่อมต่อผ่านเซ็นเซอร์ของระบบ AI เพื่อให้ทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างอัตโนมัติ เช่น การเติมของเข้าตู้เย็น นำของในตู้เย็นมาทิ้งขยะ หรือแม้แต่การดูแลสุขภาพของคุณ” ด้านแหล่งเก็บพลังงานและอุปกรณ์กรองน้ำจะซ่อนตัวอยู่ใต้พื้นดิน เเละบนพื้นดินจะประกอบไปด้วยพลาซ่า สวนสาธารณะและทางเดินที่ปราศจากรถยนต์ ด้วยความตั้งใจในการออกเเบบที่ให้ความสำคัญกับพื้นที่สาธารณะ “การเชื่อมต่อของมนุษย์ คือการเชื่อมต่อที่ก่อให้เกิดความสุข ผลิตภาพและนวัตกรรม” สำหรับการก่อสร้างในเฟสแรกจะจะเริ่มขึ้นในปี 2021 ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างมากกว่า 12 แห่ง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีกำหนดว่าเมืองต้นเเบบเเห่งอนาคตนี้จะแล้วเสร็จเมื่อใด

บริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิสเซส จำกัด (UTEL) มุ่งพัฒนาพื้นที่นำร่องประเทศไทยให้มีความเติบโตก้าวสู่การเป็น Smart City เมืองอัจฉริยะ โดยทาง UTEL ได้มีการวางระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ด้วยการติดตั้งเสาอัจฉริยะ “LUCKY POLE” ในพื้นที่เป้าหมายหลายพื้นที่ “เสาอัจฉริยะ LUCKY POLE” มีฟังก์ชันการทำงานที่หลากหลาย เช่น ล้องวงจรปิด ปุ่มแจ้งเหตุฉุกเฉิน อุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่น PM2.5 ความชื้นและอุณหภูมิ ซึ่งสามารถแสดงผลไปพร้อมกับข้อมูลสื่อประชาสัมพันธ์บนจอ LED ขนาดใหญ่ที่ติดตั้งอยู่ที่เสาได้ และสามารถรองรับอุปกรณ์และระบบอื่นๆ เพิ่มเติมได้ในอนาคต เช่น อุปกรณ์ส่งสัญญาณระบบ 5G, การเชื่อมต่อระบบตารางเดินรถ เซนเซอร์วัดค่าต่างๆ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวก เพิ่มความปลอดภัย ยกระดับคุณภาพการวางแผนการใช้ชีวิตให้กับประชาชนให้ดียิ่งขึ้น สู่การเป็น Smart City เมืองแห่งอนาคตของคนไทยที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมจะผสานเป็นหนึ่งเดียวกับการใช้ชีวิต

สนใจบริการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม และสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเสาอัจฉริยะ LUCKY POLE ติดต่อได้ที่ 

Business Development Sales & Marketing Manager 

E-mail: luckypole@ute.co.th 

Website: www.ute.co.th

RELATED NEWS

23/04/2024
ทำความรู้จักรูปแบบ “Solar Cell” การลงทุน “Solar Roof” เปลี่ยนบ้านคุณให้เป็น “Smart Home”
หลายท่านทราบกันดีว่า “Solar Cell” (โซล่าเซลล์) เป็นเครื่องมือที่ช่วยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า ทำให้เราสามารถนำพลังที่ไม่มีวันหมดจากดวงอาทิตย์มาใช้ในชีวิตประจำวัน
26/03/2024
มาทำความรู้จัก “Solid-State Battery” เทคโนโลยีแบตเตอรี่แห่งอนาคต!
Solid-State battery (แบตเตอรี่โซลิดสเตต) คืออะไร? แบตเตอรี่โซลิดสเตต เป็นแบตเตอรี่ที่ใช้ของแข็งเป็นอิเล็กโทรไลต์ของแบตเตอรี่แทนที่การใช้อิเล็กโทรไลต์แบบของเหลวหรือแบบโพลิเมอร์เจล
21/03/2024
คาร์บอนเครดิต TVERs การลงทุนกับอากาศ…สร้างรายได้
คาร์บอนเครดิต (Carbon Credit) คือ ตลาดซื้อ-ขายคาร์บอนเครดิต เป็นหนึ่งในกลไกสำคัญที่จะช่วยลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อแก้ปัญหาโลกร้อนได้ โดยเฉพาะภาคธุรกิจซึ่งอาจมีธุรกิจที่บริหารจัดการให้กระบวนการทำธุรกิจสามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากกว่าเป้าหมายจนคำนวณเป็นคาร์บอนเครดิตออกมา
Back to Top